Shortcut Key


Shortcut Key for Windows



ปุ่ม Windows ถ้าใช้เดี่ยว ๆ : จะเป็นการแสดง Start Menu

ปุ่ม Windows + D : ย่อหน้าต่างที่เปิดอยู่ทั้งหมด

ปุ่ม Windows + E : เปิด windows explorer

❤ ปุ่ม Windows + F : เปิด Search for files

ปุ่ม Windows + Ctrl+F : เปิด Search for Computer

❤ ปุ่ม Windows + F1 : เปิด Help and Support Center

ปุ่ม Windows + R : เปิดไดอะล็อคบ็อกซ์ RUN

❤ ปุ่ม Windows + break : เปิดไดอะล็อคบ็อกซ์ System Properties

ปุ่ม Windows +shift + M : เรียกคืนหน้าต่างที่ถูกย่อลงไปทั้งหมด

❤ ปุ่ม Windows + tab : สลับไปยังปุ่มต่าง ๆ บน Taskbar

ปุ่ม Windows + U : เปิด Utility Manager

❤ ปุ่ม Shift + ปุ่มลูกศร : เลือกข้อความ โดยใช้ปุ่มลูกศรช่วยในการทำตำแหน่ง แถบดำ เลือก ซ้าย - ขวา - บน - ล่าง

ปุ่ม Shift + End : เลือกข้อมูลจาก cursor ไปยังตัวสุดท้ายของบรรทัด

❤ ปุ่ม Shift + Home : เลือกข้อมูลจาก cursor ไปยังตัวแรกของบรรทัด

ปุ่ม Alt + Tap : เปลี่ยนสลับหน้าต่างโปรแกรมที่เปิดอยู่

❤ ปุ่ม Tap : ใช้ในการเลือก ปุ่ม หรือ ช่องข้อความต่างๆ

ปุ่ม F1 : Help ช่วยเหลือ

❤ ปุ่ม Esc : ยกเลิกการเรียกใช้คำสั่ง



Shortcut Keys โดยการกดปุ่ม Ctrl +...


ปุ่ม Ctrl + Esc : เรียกเมนู Start

❤ ปุ่ม Ctrl + C หรือ Ctrl+Insert copy : (คัดลอก) ข้อมูล

ปุ่ม Ctrl + V หรือ Shift + Insert paste : (วางข้อมูล) ข้อมูล

❤ ปุ่ม Ctrl + X หรือ Shift + Delete cut :(ตัด) ข้อมูล

ปุ่ม Ctrl + P : พิมพ์

❤ ปุ่ม Ctrl + B : เน้นอักษรหนา หรือกลับเป็นปกติ

ปุ่ม Ctrl + U : ขีดเส้นใต้อักษร

❤ ปุ่ม Ctrl + I : ทำให้เป็นอักษรตัวเอน

ปุ่ม Ctrl + E : จัดข้อความให้อยู่กึ่งกลาง

❤ ปุ่ม Ctrl + R : จัดข้อความชิดขวา

ปุ่ม Ctrl + L : จัดข้อความชิดซ้าย

❤ ปุ่ม Ctrl + A : Select All (เลือกทั้งหมด)



Shortcut Keys โดยการกดปุ่ม F1...F10

ปุ่ม F1 : เรียก Help หรือ Office Assistant

❤ ปุ่ม F2 : ย้ายข้อความ หรือกราฟิกต่างๆ

ปุ่ม F3 : แทรกข้อความอัตโนมัติ (AutoText)

❤ ปุ่ม F4 : ทำซ้ำสำหรับแอคชั่นการทำงานล่าสุดของผู้ใช้

ปุ่ม F5 : เลือกคำสั่ง Go To (เมนู Edit)

❤ ปุ่ม F6 : กระโดดไปยังกรอบหน้าต่างถัดไป

ปุ่ม F7 : เลือกคำสั่งตรวจสอบคำสะกด (Spelling ในเมนู Tools)

❤ ปุ่ม F8 : ขยายไฮไลต์ของการเลือกข้อความ

ปุ่ม F9 : อัพเดตฟิลด์ต่างๆ ที่เลือก

❤ ปุ่ม F10 : กระโดดไปเมนูบาร์

ปุ่ม F11 : กระโดดไปยังฟิลด์ถัดไป

❤ ปุ่ม F12 : เลือกคำสั่ง Save As (เมนู File)

-------------------------------------------------------

→ แหล่งที่มา : http://www.src.ku.ac.th/web/tip/tip3.htm

HOT KEY

ารใช้งาน
Hot Key ใน Windows


★.• BACKSPACE = ดูโฟลเดอร์ย้อนขึ้นหนึ่งระดับใน My Computer หรือ Windows Explorer

★.• ESC = ยกเลิกงานปัจจุบัน

★.• DELETE = ลบ

★.• CTRL ขณะที่ลากรายการ = คัดลอกรายการที่เลือก

★.• CTRL+SHIFT ขณะที่ลากรายการ = สร้างทางลัดไปยังรายการที่เลือก

★.• CTRL+ESC = แสดงเมนู Start

★.• CTRL+A = เลือกทั้งหมด

★.• CTRL+C = คัดลอก

★.• CTRL+X = ตัด

★.• CTRL+V = วาง

★.• CTRL+Z = ยกเลิก

★.• Ctrl + Y = ไปข้างหน้ากรณีที่ย้อนกลับมา ไปใช้บน Word หรือพวก Editor ต่างๆ

★.• Ctrl + S = Save งาน

★.• CTRL+ ลูกศรขวา = ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของคำถัดไป

★.• CTRL+ ลูกศรซ้าย = ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของคำก่อนหน้า

★.• CTRL+ ลูกศรลง = ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของย่อหน้าถัดไป

★.• CTRL+ ลูกศรขึ้น = ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของย่อหน้าก่อนหน้าไป

★.• CTRL+SHIFT พร้อมกับปุ่มลูกศรใดๆ = ไฮไลต์บล็อกข้อความ

★.• Ctrl + Tab = สับเปลี่ยนเอกสารที่เปิดไปมา เช่น เปิด เอกสาร1 + เอกสาร2 ก็จะสลับไปมาเอกสาร 1 เอกสาร 2 ใช้ได้มากกว่า 1

★.• CTRL+F4 = ปิดเอกสารที่ใช้งานอยู่

★.• CTRL+SHIFT+ESC = เปิด Task Manager

★.• Alt Shift (left) = สลับภาษา

★.• ALT+ENTER = ดูคุณสมบัติต่างๆ ของรายการที่เลือก

★.• ALT+F4 = ปิดรายการที่ใช้งานอยู่ หรือปิดโปรแกรมที่ใช้งาน

★.• ALT+ENTER = แสดงคุณสมบัติของออบเจกต์ที่เลือก

★.• ALT+SPACEBAR = เปิดเมนูทางลัดสำหรับหน้าต่างที่ทำงานอยู่

★.• ALT+อักษรขีดเส้นใต้ในชื่อเมนู = แสดงเมนูนั้นๆ

★.• ALT+TAB = สลับระหว่างรายการต่างๆ ที่เปิดอยู่

★.• ALT+ESC = สลับไปยังรายการต่างๆ ตามลำดับที่เปิด

★.• Alt + D = การใช้งานเหมือน F6 แต่ว่าตอนเรียกคำว่าต้องให้ เป็น (EN)

★.• Alt + PrintScreen = จับภาพหน้าจอ เฉพาะหน้าที่เป็น Active Windows เอาไว้ในคลิปบอร์ด

★.• ปุ่ม F2 = เปลี่ยนชื่อรายการที่เลือก

★.• ปุ่ม F3 = ค้นหาไฟล์หรือโฟลเดอร์

★.• ปุ่ม F4 = แสดงรายการแอดเดรสบาร์ใน My Computer หรือ Windows Explorer

★.• ปุ่ม F5 = อัปเดทหน้าต่าง

★.• ปุ่ม F6 = สลับไปตามรายการอิลิเมนต์บนหน้าจอในหน้าต่างหรือบนเดสก์ทอป

★.• ปุ่ม F10 = เปิดแถบเมนูในโปรแกรมที่กำลังใช้งาน

★.• อักษรที่ขีดเส้นใต้ในชื่อคำสั่งบนเมนูที่เปิด = ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ

★.• ลูกศรขวา = เปิดเมนูถัดไปทางขวา หรือเปิดเมนูย่อย

★.• ลูกศรซ้าย = เปิดเมนูถัดไปทางซ้าย หรือปิดเมนูย่อย

★.• กดปุ่ม SHIFT ขณะที่ใส่แผ่นซีดีรอมลงในไดรฟ์ซีดีรอม = ยกเลิกการเล่นซีดีรอมอัตโนมัติ

★.• SHIFT+F10 = แสดงเมนูทางลัดสำหรับรายการที่เลือก

★.• Shift + Click = ที่ลิงค์นั้น จะสามารถ เปิดหน้าเว็บใหม่ โดยที่เว็บเพจตัวเก่ายังคงเดิม

★.• SHIFT+DELETE = ลบรายการที่เลือกอย่างถาวรโดยไม่เก็บไว้ใน Recycle Bin

★.• SHIFT+ TAB = เลื่อนเมนูที่เลือกผ่านมา

★.• Shift end = เลือกตั้งแต่ที่ cursor อยู่จนถึงท้ายของบรรทัด

★.• Shift home = เลือกตั้งแต่ที่ cursor อยู่จนถึงต้นของบรรทัด

★.• Home = เมื่อใข้งานที่ IE ตัวนี้จะเป็นตัวมีอยู่ที่ด้านบน (Top) ของ หน้าเว็บ

★.• End = เมื่อใข้งานที่ IE ตัวนี้จะเป็นตัวมีอยู่ที่ด้านล่าง (Bottom) ของ หน้าเว็บ

★.• Page Up = เลื่อนหน้าเว็บขึ้นด้านบน

★.• Page Down = เลื่อนหน้าเว็บลงด้านล่าง

★.• ปุ่มวินโดวส์+M = Minimize ทุกๆวินโดวส์ทั้งหมด

★.• ปุ่มวินโดวส์+Shift+M = Restore วินโดวส์ทั้งหมดที่ถูก Minize ลงไป

★.• Windows Logo +D = สลับการแสดงเดสทอป

★.• Windows Logo +F1 = เปิดวินโดวส์ Help

★.• Windows Logo + Pause/Break = เปิด SystemProperties

★.• Windows Logo +E = เปิดวินโดวส์ เอกซ์ เพอ เร่อ Explorer

★.• Windows Logo +R = เปิดวินโดวส์ Run

★.• Windows Logo +F = เปิดการ Search

★.• Windows Logo + F1 =เปิดระบบช่วยเหลือของ Windows

★.• Windows Logo +Ctrl+F = เปิดการ Search เหมือนกัน ( WinMe & Win 98 )

★.• Windows Logo +Tab = ย้ายจุดเลือกของแต่ละ Task

★.• คลิกขวา + H = ใน IE เวลารูปไม่แสดง ทำให้รวดเร็วมากหากมีหลายรูปไม่เปิด

★.• คลิกขวา + S = ในเว็บหากต้องการ Save รูปกดนี้แป๊บเดียวเสร็จ

★.• คลิกขวา + N = คลิกที่ Link สำหรับเปิดหน้าต่างใหม่

★.• คลิกขวา + Shift เลือก Delete คลิก = เวลาลบแล้วไม่อยากให้อยู่ที่ถังขยะ คลิกขวาที่ File หรือ Folder แล้วกด Shift ค้างไว้ พร้อมกับนำMouse เลือก Delete แล้วคลิก เท่านี้ File ที่ลบก็ไม่มีใน Recycle Bin แล้ว

★.• Tab + Enter = กด Tab แล้ว Enter สำหรับการ Chat ใน ICQ เพื่อส่งข้อความรวดเร็วไม่ต้องนำ Mouse ไปคลิก Send ให้ยุ่งยาก

★.• PrintScreen = จับภาพหน้าจอทั้งหมดเอาไปไว้ในคลิปบอร์ด

โปรแกรม Pladao Office


โปรแกรม Pladao Office

ปลาดาว ออฟฟิศ คือ ชุดโปรแกรมสำนักงานที่รองรับการทำงานกับเอกสารภาษาไทย สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และมีโปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor) สร้างตารางคำนวณ (Spreadsheet) นำเสนองาน (Presentation)
วาดภาพแบบเวกเตอร์ (Drawing) และโปรแกรมสมการคณิตศาสตร์ (Equation) ใช้ได้กับ 3 ระบบปฏิบัติการหลัก คือ Solaris, Linux, หรือ Windows นอกจากนี้ ปลาดาวมีคุณสมบัติการใช้งานเอกสารที่มาจากต่างระบบกันได้ (cross platform)
ตัวอย่างจากการทดลองการใช้งาน ปลาดาวสามารถเปิดเอกสารที่สร้างขึ้นจาก Microsoft Excel หรือ Microsoft Word ขึ้นมาใช้ปรับปรุงแก้ไขได้

โปรแกรมหลักๆ ของปลาดาว ออฟฟิศมีดังนี้

1. Writer เป็นโปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor) มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Microsoft Word

2. Calc เป็นโปรแกรมตารางคำนวณ (Spreadsheet) มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Microsoft Excel

3. Impress เป็นโปรแกรมนำเสนองาน (Presentation) มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ
Microsoft PowerPoint

4. Draw เป็นโปรแกรมวาดภาพแบบเวกเตอร์ (Drawing)

5. Math เป็นโปรแกรมพิมพ์สมการคณิตศาสตร์ (Equation)

โปรแกรม PlaDao เป็นโปรแกรมที่พัฒนาจาก source code ของโปรแกรม OpenOffice.org 638C (http://www.openoffice.org/) โดยบริษัท Sun Microsystems และ Nectec ได้ทำการพัฒนาให้มีความสามารถทางภาษาไทย เพื่อการใช้งานภาษาไทยเต็มรูปแบบ บน 3 แพลตฟอร์ม (Sun Solaris , Microsoft Windows 95/98/ME/NT/2000/XP และ Linux)

โดยมีคุณสมบัติพื้นฐานเช่น
1. ความสามารถในการตัดคำ เมื่อสิ้นสุดบรรทัด
2. ความสามารถในการจัดเรียงคำภาษาไทยตามพจนานุกรม
3. ความสามารถในการค้นหาคำภาษาไทย
4. สนับสนุนฟอนต์ภาษาไทยแบบ True Type จำนวน 5 ฟอนต์
5. จัดระดับวรรณยุกต์ให้อยู่ในระดับที่ถูกต้องมามาตรฐานภาษาไทย บนทุกๆ แพลตฟอร์ม
6. ทุกๆ ไดอะล็อก และเมนู จะถูกแสดงผลให้เป็นภาษาไทย
7. Thai Date/Time format กำหนดมาตรฐาน Thai

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาปลาดาวออฟฟิศ คือ ทางบริษัทซันไมโครซิสเต็มส์ เตรียมเปิดให้นักพัฒนานำรหัสในการพัฒนาโปรแกรม "ปลาดาว" ไปพัฒนาต่อหลังเปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ขณะนี้ซันไมโครซิสเต็มส์ใกล้จะได้ข้อสรุปในการเปิดให้ทดสอบโปรแกรมจัดการเอกสาร ปลาดาว ที่ได้เปิดให้บริษัทและองค์กรที่สนใจนำไปทดสอบตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยผลตอบรับในการใช้ภาษาไทยอยู่ในขั้นที่น่าพอใจ
และหลังจากได้เปิดตัวโปรแกรมปลาดาวอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธไม่กี่วันที่ผ่านมา ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะถูกนำมาแจกฟรีสำหรับผู้ที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ และทางซันจะเปิดให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์นำรหัสในการพัฒนาโปรแกรม (Source Code) ของปลาดาว ไปพัฒนาต่อ โดยมีผู้สนใจติดต่อเข้ามาแล้วจำนวนมาก


การพิจารณาเลือกซื้ออุปกรณ์


ารเลือกซื้ออุปกรณ์ให้เหมาะสมตามลักษณะการใช้งาน
งานด้านเอกสาร รายงานในสำนักงานต่างๆและอินเทอร์เน็ต
ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงมากนัก เลือกซื้อเครื่องในราคาค่อนข้างถูก โดยพิจารณาคุณสมบัติที่เหมาะสม
งานด้านกราฟิกประเภทออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโฆษณาต่างๆ
งานด้านนี้มักใช้โปรแกรมที่ต้องใช้ทรัพยากรของเครื่องสูงพอสมควร ดังนั้นการเลือกซื้อเครื่องที่จะนำไปใช้งานประเภทนี้จะมีราคาระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง
งานออกแบบกราฟริกขั้นสูงประเภทแสดงผลในรูป 3มิติหรืองาน3D Animation
งานด้านนี้ส่วนใหญ่มักใช้โปรแกรมที่ต้องการทรัพยากรของเครื่องและขีดความสามารถในการคำนวณสูงมากดังนั้นการเลือกซื้อเครื่องที่จะนำไปใช้งานประเภทนี้อยู่ในระดับค่อนข้างสูงมากเลยที่เดียว
ใช้เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่
สมัยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ยังมีราคาแพง การซื้อคอมพิวเตอร์ไว้เล่นเกมส์ดูเป็นเรื่องฟุ่มเฟือย แต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ราคาถูกมาก เนื่องจากปัจจุบันเกมส์ใหม่ๆล้วนต้องการทรัพยากรของเครื่องสูงๆทั้งนั้น ตั้งแต่ CPU, RAMและ ที่สำคัญที่สุด การ์ดจอนั้นเอง

ระเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ทีวางขายอยู่ตามท้องตลาดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1 .คอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ ที่นิยมขายเป็นชุด
คอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อที่นิยมขายเป็นชุดเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวก โดยทั่วไปจะมีรายละเอียดของ เครื่องอย่างค่าวๆให้
2 .เลือกซื้อชิ้นส่วนนำมาประกอบเอง
คอมพิวเตอร์แบบเลือกซื้อชิ้นส่วนเพื่อนำมาจ้างหรือประกอบเอง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความพิถีพิถันในการเลือกซื้ออุปกรณ์มาประกอบเอง ทางเลือกที่ดีที่สุดคือ ให้เพื่อนที่มีความรู้ความชำนาญมาช่วยเลือกให้


การเลือกซื้อซีพียู (CPU)









ปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตซีพียู อยู่หลักๆ คือ บริษัทIntel และ AMD ก่อนที่จะเลือกรุ่นของซีพียูสิ่งแรก ที่จะต้องเลือกก็คือ Intel หรือ AM ซึ่งเป็นอันดับแรกที่ต้องตัดสินใจก่อนที่ จะเลือกองค์ประกอบอื่นๆต่อไป สรุปง่ายๆก็คือให้เลือก AMD ถ้าต้องการประสิทธิภาพที่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป และเลือก Intel ถ้าสนใจเรื่องยี่ห้อหรือไม่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพใดๆ


การเลือกซื้อชุดระบายความร้อนให้กับซีพียู









ความร้อนที่เกิดขึ้นในซีพียูเป็นสาเหตุ ของปัญหาอื่นๆ เช่นเครื่องแฮงค์หรือค้างบ่อยๆ สิ่งที่สำคัญที่ควรคำนึงในการเลือกซื้อชุดระบาย ความร้อนให้กับซีพียู ซึ่งประกอบด้วย พัดลมระบายความร้อน และฮิตซิงค์ สิ่งสำคัญที่สุดคือรูปแบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับซีพียู


การเลือกซื้อเมนบอร์ด (Main board)











เมนบอร์ดถือเป็นอุปกรณ์หลักที่มีความสำคัญ รองลงมาจากซีพียู เมนบอร์ดยังเป็นอุปกรณ์หลัก ที่มีราคาสูงพอสมควร ไม่ใช้มาหาปรับเปลี่ยนกัน ได้บ่อยๆ เหมือนอุปกรณ์อื่นๆ และต้องเลือก ให้เหมาะสมกับการใช้งานและคุ้มค่าที่สุด สรุปได้ดังนี้
εїз เลือกรูปแบบหรือฟอร์แฟกให้เหมาะสมกับแคส
εїз เลือกช่องสำหรับติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ด
εїз เลือกซิปเซ็ตที่เหมาะสมกับเมนบอร์ด
εїз เลือกช่องสล๊อตสำหรับติดตั้งหน่วยความจำ อุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกันกับซีพียูตลอดเวลา คือหน่วยความจำแรมต้องเลือกให้เหมาะสมกับ ซีพียูเพื่อทำงานร่วมกันอย่างมี ประสิทธิภาพ แต่กำลังเป็นที่นิยมกันมาก DDR2-SDRAM แบ่งตามความเร็วและ บนด์วิดธ์ได้หลายรุ่น ส่วนใหญ่ที่ใช้กันมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ DDR3-SDRAM
εїз เลือกชนิดและจำนวนของช่องสล๊อตบนเมนบอร์ด
εїз เลือกช่องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกหรือพอร์ต แบบต่างๆ


การเลือกซื้อหน่วยความจำ(RAM)










RAM เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญต้องใช้ความ ละเอียดรอบคอบในการเลือกซื้อพอสมควร เนื่องจาก RAM ทำงานร่วมกับซีพียูตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง ในการพิจารณาเลือกซื้อ เพื่อให้เหมาะสม กับซีพียูที่และเมนบอร์ดที่ใช้



การเลือกซื้อฮาร์ดิสก์ (Hard disk)









ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล ที่สำคัญควรพิจารณาในการเลือกดังนี้ คือ
ความจุของข้อมูล ยิ่งสูงมากยิ่งมีเนื้อที่ ในการจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้น
ความเร็วในการหมุนมีผลต่อความเร็วใน การอ่านและบันทึกข้อมูลมาก
อินเตอร์เฟสของฮาร์ดิสก์ นิยมใช้กัน มานานจะเป็นแบบ ATA-100และATA-133
ขนาดของบัฟเฟอร์ ขนาดของบัฟเฟอร์มีมาก เท่าไหร่ยิ่งดี แต่ราคาอาจแพงตามไปด้วย
การรับประกัน ปัจจุบันมีการรับประกัน ยาวนานถึง 5ปี


การเลือกซื้อการ์แสดงผล (VGA Card)













☆ ปัจจุบันผลิตออกมาหลายรุ่น หลายยี่ห้อ หลายราคา คุณสมบัติที่ควรคำนึงถึง คือ
ชิปประมวลผลกราฟิก ดูจากการใช้งาน ใช้งานทั่วไปใช้ชิปของ nVidia รุ่น GeForce FX7200 อินเตอร์เฟสของการ์ด ชนิดและขนาดของหน่วยความจำ บนตัวการ์ดถ้าในระดับไม่แพงอปานกลาง มักใช้หน่วย ความจำชนิดDDR2 พอร์ตเชื่อมต่างๆหมายถึงช่องต่อต่างๆ ที่มีมาให้ในตัวการ์ดแสดงผล เช่น พอร์ต D-Sod ที่ใช้ส่งสัญญาณแบบอนาล็อก, พอร์ต DVI ที่ใช้ส่งสัญญาณแบบดิจิตอล
☆ การเลือกซื้อการ์ดเสียงควรคำนึงในการเลือกดังนี้
รูปแบบของการ์ดเสียง ปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือแบบออนบอร์ดและแบบตัวการ์ดอินเตอร์เฟส ลักษณะการใช้งานที่จะนำไปใช้ แค่ดูหนัง ฟังเพลง ใช้ร่วมกับลำโพง 2 ตัว แยกซ้าย ขวา และถ้านำไปใช้ ดูหนังฟังเพลงในระดับโฮมเธียรืเตอร์แบบจริงจังต้องคุณภาพ เสียงในระดับเซอร์ราวด์รอบทิศทาง



การเลือกซื้อลำโพง (Sperker)










ลำโพงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการ์ดเสียง เป็นตัวแปรสำคัญเพื่อให้ได้รับความบันเทิง ข้อควรคำนึงในการเลือกซื้อ คือ รูปแบบของลำโพง จำแนกได้เป็นกลุ่มดังนี้
1. ชุดลำโพงมัลติมีเดียสำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป จะเป็นระบบเตอริโอแยกลำโพงซ้าย ขวา
2. ชุดลำโพงพร้อมซับวูฟเฟอร์ เป็นลำโพงแบบ3จุด
3. ชุดลำโพงมัลติมีเดีย รับสัญญาณดิจิตอลจากเครื่อง
พีซีผ่านเข้ามาทางพอร์ต
4. ชุดลำโพงระบบเสียงรอบทิศ ประกอบไปด้วยลำโพง ตั้งแต่ 8 จุด



การเลือกซื้อไดรว์ซีดีรอม และไดรว์ดีวีดี










ไดรว์ดีวีดีอาร์ดับบลิว สามารถอ่าน และเขียนบันทึกข้อมูลบนแผ่นซีดีและดีวีดี ได้หลักการในการเลือกมีดังนี้คือ ความเร็วทั้งความเร็งในการเขียนข้อมูล ลงบนแผ่นCD-RWและ DVDและความเร็ว ในการอ่านข้อมูลจากแผ่นCDและ DVD
☀ ขนาดของบัฟเฟอร์ของไดรว์ดีวีดีอาร์ดับบลิว สำคัญมากใช้พักข้อมูลในการอ่านหรือ เขียนยิ่งขนาดของบัฟเฟอร์ใหญ่มาดเท่าไหร่ ยิ่งดีโดยทั่วปะมีขนาด 2MB



การเลือกซื้อจอภาพ











จอภาพหรือจอแสดงผล เป็นอุปกรณ์ที่เราต้องติดต่อเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหลักสำคัญที่ต้องพิจารณามีดังนี้ ชนิดของจอภาพ แบ่งได้2 ชนิดคือ CRTกับLCD
☀ ขนาดของจอ โดยทั่วไปจะมีหน่วยเป็นนิ้ววัดจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่ง
☀ ความละเอียดของการแสดงผล
☀ อัตราการรีเฟรช




การเลือกซื้อการ์ดแลน








การ์ดเน็ตเวิร์กหรือการ์ดแลนเป็นอุปกรณ์จำเป็นในการเชื่อมต่อพีซีหลายๆเครื่องเข้าด้วยกันข้อคำนึงในการซื้อมีดังนี้
รูปแบบของการ์ด LAN อัตรานาความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลและความเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานที่จะนำไปใช้

การเลือกซื้อการ์ดWires LAN และAccess Point มีเกณฑ์ในการเลือกซื้อมีดังนี้ คือมาตรฐานและอัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ใช้



การเลือกซื้อ Modem










โดยทั่วไปโมเด็มแบ่งออกได้2 รูปแบบ คือ
1. โมเด็มแบบติดตั้งภายในเครื่อง ราคาถูก ไม่เกะกะพื้นที่ แต่ข้อเสียคือติดตั้งลำบาก
2. โมเด็มติดตั้งภายนอกเครื่องข้อดี คือ ติดตั้งได้ง่าย ส่วนข้อเสียคือราคาแพงและเกะกะพื้นที่



การเลือกซื้อเคสและพาวเวอร์ซัพพลาย
การเลือกซื้อตัวเครื่องหรือเคสที่เหมาะสม คือ ฝาเคสเปิดปิดง่ายเลือกวัสดุที่ทำมาจากพลาสติกการเลือกซื้อแหล่งกระจายไฟหรือพาวเวอร์ซัพพลาย ข้อคำนึงคือ เลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่ถูกต้องกับชนิด และความต้องการของเมนบอร์ด



การเลือกซื้อ USB










การเลือดซื้อ USB จะมีในเรื่องของ ขนาดต้องสัมพันธ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ โดยทั่วไปจะอยู่ประมาณ500-800 VA กับประเภทของ USB โดยทั่วไปจะใช้ แบบ Line Interactive USB ที่มีราคาถูก และเพียงพอต่อระบบไฟฟ้าที่ค่อนข้างเสถียร




การเลือกซื้อเครื่องพรินเตอร์ (Printer)











เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับ งานพิมพ์ ปัจจุบันพบเห็นโดยทั่วไป เพราะราคาถูกลงมาก หลักเกณฑ์ใน การเลือกมีดังนี้ ประเภทของเครื่องพรินเตอร์ เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลักๆ คือ
1. เครื่องพิมพ์แบบหัวข็ม เหมาะกับงาน พิมพ์ขาวดำที่ต้องการพิมพ์สำเนาด้วยเสมอ
2. เครื่องพิมพ์แบบหัวพ่นหมึก นิยมในปัจจุบัน
เนื่องจากราคาถูก
3. เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์เหมาะกับงาน
คุณภาพที่ไม่ต้องการสำเนา
4. เครื่องพิมพ์เลเซอร์สีสันสดใสเหมาะ
กับงานเอกสารทั่วไป
5. เครื่องพิมพ์แบบมัลติฟังชันมีมากตามบ้าน
และสำนักงาน มีทุกอย่างในเครื่องเดียว



การเลือกซื้อเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner)










เป็นอุปกรณ์ในการอ่าน คือการถ่าย ภาพจาการะดาษหรือวัตถุแบนๆเข้า ไปในเครื่อง หลักเกณฑ์ในการ เลือกซื้อมีดังนี้
-ความละเอียดในการสแกนภาพ


ข้อแนะนำในการเลือกซื้ออุปกรณ์ตามแหล่งต่างๆมาประกอบเอง
► ต้องเรียนรู้ในกระบวนการและขั้นตอนต่างๆในการประกอบ การเลือกซื้ออุปกรณ์อย่างถูกวิธีมีดังนี้
► ตรวจเช็คราคาของอุปกรณ์จากร้านต่างๆก่อนเสมอ
► เลือกซื้อเฉพาะสินค้าที่มีประกันเท่านั้น
► ควรศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาบ้างพอสมควร
► พยายามเลือกร้านที่น่าเชื่อถือ
► ไม่ควรเลือกซื้อสินค้าด้วยราคาที่ถูกที่สุดเสมอไป



นะนำแหล่งขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่น่าสนใจ
แบ่งเป็นกลุ่มคร่าวๆได้2 กลุ่มดังคือ กลุ่มที่เป็นแหล่งขายเน้นไปทางด้าน ชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆกับกลุ่มที่เป็นแหล่งขายเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นชุดแบบมียี่ห้อ และอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ
► กลุ่มที่เน้นด้านชิ้นส่วนและรับสั่งประกอบเครื่อง โดยมากจะอยู่เป็นกันเป็นจุดใหญ่ บ้างเล็กบ้าง ทำให้ผู้ซื้อมีโอกาสตัดสินใจและเลือกซื้ออย่างเต็มที่ แหล่งที่น่าสนใจคือ ห้างพันธุ์ทิพย์ ฟอร์จูน
► กลุ่มที่เน้นไปทางด้านขายเครื่องคอมพิวเตอร์แบบยี่ห้อ และอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ โดยมากกลุ่มร้านค้าจำอยู่ตามศูนย์การค้า พบเห็นได้ทั่วไป มีราคาที่แน่นนอนและอาจแพงกว่า กลุ่มก่อนหน้านี้ แหล่งที่น่าสนใจคือ ห้างไอทีซีตี้ ห้างไอทีมอลล์ และตามแผนกเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น



สเป็คเครื่องโน้ตบุ๊กยี่ห้อ ACER รุ่น Aspire One A110-AW (เรียงตามลำดับในรูปข้างบน)

1. ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลของ Intel

2. ซีพียูรุ่น Intel Atom N270

3. ความเร็วในการประมวลผล 1.6GHz (กิ๊กกะเฮิร์ท)

4. ชิปเซ็ต Northbridge จาก Intel รุ่น 945GSE Express

5. แรมประเภท DDR2 SDRAM

6. หน่วยความจำแรมขนาด 512 MB (เม็กกะไบต์)

7. ฮาร์ดดิสก์แบบ Solid State Drive (SSD)

8. หน่วยความจำฮาร์ดดิสก์ขนาด 8GB (กิ๊กกะไบต์)

9. กราฟิกชิปหรือชิปประมวลผลด้านการแสดงผล จาก Intel

10. กราฟิกชิปที่ใช้ รุ่น Intel Graphics Media Accelerator 950

11. ขนาดหน้าจอ 8.9”WSVGA

12. หน้าจอประเภท Acer Crystalbrite

13. หน้าจอมีความละเอียด 1024x600 พิกเซล

14. รองรับการดึงหรือดาวน์โหลดจาก Network

15. ตัวเชื่อมต่อเครือข่าย Etherner (10/100 Mbps)

16. รองรับการเชื่อมต่อกล้อง

17. พอร์ตการ์ดรีดเดอร์ 5 in 1, SD Reader

18. น้ำหนักเครื่อง 0.98 กิโลกรัม

19. ใช้ระบบปฏิบัติการ Linux (ลีนุ๊ก)

20. ตัวเครื่องสี ขาวนวล

bandwidth

Bandwidth


bandwidth หมายถึง :
ในการสื่อสาร ความกว้างของช่วงคลื่น วัดจากช่วงของความถี่สูงที่สุดมาหาความถี่ต่ำที่สุดในช่วงความถี่ของคลื่นขนาดใดขนาดหนึ่ง เช่น ช่วงความกว้างของคลื่นของระบบโทรศัพท์ที่ความถี่ 3000 Hz จะอยู่ระหว่างความถี่ต่ำสุด 300 Hz กับความถี่สูงสุด 3300 Hz

แรม (RAM)


แรม (RAM) ซึ่งย่อมาจาก " Random Access Memory " หมายถึง หน่วยความจำความเร็วสูงซึ่งเป็นที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีหน่วยความจำความเร็วสูงนี้ โปรเซสเซอร์ก็จะทำงานไม่ได้เลย เนื่องจากความจำแรมเป็นเสมือนกระดาษทด ที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่โปรเซสเซอร์ใช้ในขณะกำลังทำงานอยู่ เพราะอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลอื่น เช่น ดิสก์ไดร์ฟ จะมีความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลช้ามาก ขณะที่ซีพียูทำงานจึงต้องทำงานกับหน่วยความจำแรมที่มีความเร็วสูงเสมอ
โดยปกติแล้ว ถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมาก ก็จะสามารถทำงานได้เร็วขึ้น เพราะมีเนื้อที่สำหรับเก็บคำสั่งของโปรแกรมต่าง ๆ ได้ทั้งหมด ไม่ต้องเรียกคำสั่งที่ใช้มาจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งจะทำให้การทำงานช้าลงอย่างมาก แผงวงจรหลัก (Main board) ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะถูกออกแบบมาให้สามารถเพิ่ม ชิปหน่วยความจำ (memory chip) ได้โดยง่าย เนื่องจากถ้าผู้ใช้ต้องทำงานกับโปรแกรมที่มีการคำนวณซับซ้อนหรือทำงานกับภาพกราฟิก ก็อาจจำเป็นต้องทำการเพิ่มหน่วยความจำให้มากขึ้น
คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากจำเป็นต้องมีหน่วยความจำจำนวนมาก เนื่องจากคอมพิวเตอร์นี้จะมีผู้ใช้หลายคนทำงานพร้อม ๆ กัน โดยใช้หลักการของ มัลติโปรเซสซิง (Multiprocessing) ทำให้ต้องมีการแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำ เพื่อเก็บโปรแกรมของผู้ใช้แต่ละคนสามารถประมวลผลไปในเวลาเดียวกันมากขึ้น
หน่วยความจำ RAM ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ



◆ DRAM ( Dynamic RAM) : เป็นหน่วยความจำที่มีการใช้งานกันมากที่สุดในปัจจุบัน จะมีวงจรคล้ายตัวเก็บประจุเพื่อจัดเก็บแต่ละบิตของข้อมูล ทำให้ต้องมีการย้ำสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปก่อนที่จะสูญหาย เรียกว่า การรีเฟรช (Refresh) หน่วยความจำ DRAM จะมีข้อดีที่ราคาต่ำ แต่ข้อเสียคือมีความเร็วในการเข้าถึง (Access time) ประมาณ 50 – 150 nanoseconds ซึ่งไม่สูงนักเนื่องจากต้องมีการรีเฟรชข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีการนำเทคนิค ต่าง ๆ มาช่วยลดเวลาในการเข้าถึงข้อมูล และเกิด DRAM ชนิดย่อย ๆ เช่น FPM (Fast Page Mode) RAM, EDO (Extended Data Output) RAM, SDRAM (Synchronous DRAM), DDR (Double Data Rate) SDRAM และ RDRAM (Rambus DRAM) เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมี DRAM แบบพิเศษซึ่งมีการปรับปรุงให้ทำงานเร็วขึ้นเพื่อใช้เป็นหน่วยความจำสำหรับระบบแสดงผลกราฟิก ซึ่งต้องการหน่วยความจำที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็วสูง เช่น VRAM(Video RAM), WRAM (Window RAM), SGRAM (Synchronous Graphics RAM) และ MDRAM (Multibank RAM) เป็นต้น






◆ SRAM (Staitc RAM)
: เป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงและใช้พลังงานน้อยมาก เนื่องจากข้อมูลที่เก็บอยู่ใน SRAM จะคงอยู่ได้ไม่ต้องทำการ refresh ข้อมูลอยู่ตลอดเวลาเหมือน DRAM ทำให้ SRAM สามารถใช้พลังงานจากถ่านนาฬิกาในการทำงานได้ถึงหนึ่งปี มีข้อเสียคือราคาสูง ทำให้นิยมใช้ SRAM เป็น หน่วยความจำแคช (Cache memory) เพื่อเสริมความเร็วให้กับหน่วยความจำ DRAM ในระบบคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เนื่องจากหน่วยความจำ SRAM มีความเร็วต่ำกว่า 10 nanosecond

CPU

ซีพียู (CPU)



ซีพียู (CPU : Central Processing Unit) หรือหน่วยประมวลผลกลางเป็นส่วนประกอบหลักซึ่งทำหน้าที่ คิดคำนวณ และประมวลผลข้อมูลต่างๆ ทั้งการคำนวณตัวเลขทางด้านคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operation) บวก ลบ คูณ หาร หรือการคำนวณเชิงเปรียบเทียบ ข้อมูลทางด้านตรรกศาสตร์ (Logical Operation) มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ เมื่อคอมพิวเตอร์มีการรับข้อมูลใดๆ เข้ามาจัดเก็บหรือพักไว้ในหน่วยความจำ แล้วก็จะถูกส่งต่อให้ซีพียูประมวลผลก่อนเสมอ นอกจากนั้นแล้วซีพียูยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของส่วนประกอบต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์อีกด้วย


ซีพียู Intel

ประวัติความเป็นมาของ CPU Intel

อินเทล (Inter Corporation) เป็นบริษัทผู้ผลิตซีพียูที่เก่าแก่และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ซีพียู 8086, 8088 และซีพียูในตระกูล 80x86 เรื่อยมา จนถึง Celeron Pentium II และ III ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยนั้น ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ยุค Celeron II ,Pentium 4 และ Pentium 4 Extreme Editionที่ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้อย่างกว้างขวางเรื่อยมา ซีพียูรุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของบริษัทอินเทล (Inter) มีดังนี้

ซีพียูรุ่นเก่า

ตระกูล 80x86 : เป็นซีพียูรุ่นแรก ซึ่งปัจจุบันไม่ใช้กันแล้ว
• Pentium : เป็นซีพียูที่เปลี่ยนไปใช้วิธีตั้งชื่อเรียกว่า Pentium แทนตัวเลขแบบเดิม

Pentium MMX : เป็นซีพียูที่ได้มีการนำเอาคำสั่ง MMX (Multimedia extension) มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางด้าน
มัลติมีเดีย
• Pentium Pro : เป็นซีพียูรุ่นแรกของตระกูล P6 ซีพียูรุ่นนี้ใช้กับชิปเซ็ตรุ่น 440 FX และได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็น
อย่างมากใสมัยนั้น
Pentium II : เป็นการนำซีพียู Pentium Pro มาปรับปรุงโดยเพิ่มชุดคำสั่ง MMX เข้าไป และเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์แบบตลับ
ซึ่งใช้เสียบลงใน Slot 1 โดยมร L2 Cache ขนาด 512 ME ที่มีความเร็วเพียงครึ่งเดียวของความเร็วซีพียู Celeron เป็นการนำเอา
Pentium II มาลดองค์ประกอบ โดยยุคแรกได้ตัด L2 Cache ออกมาเพื่อให้มีราคาถูกลง
Pentium III : เป็นซีพียูที่ใช้ชื่อรหัสว่า Katmai ซึ่งถูกเพิ่มเติมชุดคำสั่ง SSE เข้าไป
Celeron II รุ่นแรกเป็นการนำเอา Pentium III ( Coppermine และ Tualatin) มาลด L2 Cache ลงเหลือเพียง 12และ
256 KB ตามลำดับ

ซีพียู Celeron D และ Celeron Dual-Core Celeron
รุ่นล่าสุดใช้ชื่อว่า Celeron D ที่ยังคงเป็นซีพียูราคาประหยัดสำหรับผู้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ใหม่ราคาไม่แพง เพื่อนำไปใช้งานทั่วๆไปโดยรุ่นต่างๆที่ออกมาดังนี้ Celeron D (presscott-90 nm) มีความเร็วสูงสุดในปัจจุบันอยู่ที่ 3.33 GHz ในรุ่น 355 ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TOD สูงสุด 84 WCeleron D (Cedar Mill-65 nm) มีความเร็วสุงสุดปัจจุบันอยุ่ที่ 3.6GHz ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TOD สูงสุด 65 WCeleron D (Conroe-L/65 nm) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.2 GHz ในรุ่น 450 มี L2 Cache ขนาด 512 KB ทำงานด้วย FSB 800 MHz ค่า TDP สูงสุด 35 WCeleron Dual-Core (Allendale-65 nm ) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.0 GHz ในรุ่น E1400 มี L2 Cache ขนาด 512 KB ทำงานด้วย FSB 800 MHz ค่า TDP สูงสุด 65 WCeleron Dual-Core (Merom 2M-65 nm) สำหรับ Note book มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 1086GHz ในรุ่น T1500 มี L2 Cache ขนาด 512 KB ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TDP สูงสุด 35 W


ซีพียู Pentium 4

ซีพียูในตระกูล Pentium 4 ได้ถูกเพิ่มเติมเทคโนโลยี Hyper-Threading (HT) เข้าไปเพื่อช่วยให้สามารถประมวลผลเธรดหรือชุดคำสั่งย่อยต่างๆไปพร้อมๆกันได้เสมือนมีซีพียู 2 ตัวช่วยกันทำงาน ซึ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานหลายๆอย่างพร้อมกันได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้- Pentium 4 HT (Nothwood-130 nm )- Pentium 4 HT(Prescott-90 nm )- Pentium 4 HT (Cedar Mill-65 nm)

ซีพียู Pentium 4 Extreme Edition
Pentium 4 Extreme Edition (Gallatin-130 nm) มีความเร็ว 3.4 GHz มี L2 Cache ขนาด 512 KBค่า TDP สูงสุด 110 WPentium 4 Extreme Edition (Prescott 2 M-90 nm ) มีความเร็ว 3.73 GHz ทำงานด้วย FSB 1066 MHz ค่า TDP สูงสุด 115W

ซีพียู Pentium D
นับเป็นก้าวแรกสู่ยุค Dual& Muti-Core ของ Intel โดย Pentium D ถูกออกมา เพื่อการทำงานที่ต้องการ Multitasking สูงๆ หรือสามารถทำงานกับแอพพลิเคชั่นได้หลายตัวพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่- Pentium D ( Smithfield-90nm)- Pentium D (Presler-65 nm)


ซีพียู Pentium Dual-Core
Pentium Dual-Core (Allendale-65 nm) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.4 GHz ในรุ่น E2220 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 65 WPentium Dual-Core (Wolfdale 2M-45 nm) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.5 GHz ในรุ่น E2220 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 2 MB ค่า TDP สูงสุด 65 WPentium Dual-Core (Yonah-65 nm) สำหรับ Note book มีความเร็วสูงสุด 1.86 GHz ในรุ่น T2130 ทำงานด้วย FSB 533 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 31 WPentium Dual-Core (Morom 2M-65 nm) สำหรับ Note book มีความเร็วสูงสุด 2.0 GHz ในรุ่น T24100 ทำงานด้วย FSB 533 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 35 W


ซีพียู Pentium Extreme Edition
Pentium Extreme Edition เป็น Dual-Core ภายใต้แบรนด์ Pentium ในตระกูล Extreme Edition ที่ถูกออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับ Hi- End สมรรถนะสูง เหมาะกับการสร้างสรรค์สื่อบันเทิงต่างๆอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการประมวลผลภาพวิดีโอ และระบบเสียงแบบ High Definition ทั้งงานด้านการออกแบบและเกมส์ต่าง ๆ ได้แก่- Pentium Extreme Edition (Smithfield-90 nm )- Pentium Extreme Edition (Presler-65 nm )


ซีพียู Core 2 Duo
Core 2 Duo (Allendale-65 nm) มีความเร็วสูงสุด 2.6 GHz ในรุ่น E4700 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 2 MB ค่า TDP สูงสุด 65 WCore 2 Duo (Conroe-65 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ในรุ่น E6850 ทำงานด้วย FSB 1066 และ 1333 MHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 65 WCore 2 Duo (Wolfdale 3M-45 nm) มีความเร็วสูงสุด 2.8 GHz ในรุ่น E7400 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 3 MB ค่า TDP สูงสุด 65 WCore 2 Duo (Wolfdale -45 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.3 GHz ในรุ่น E8600 ทำงานด้วย FSB 1333 MHz มี L2 Cache ขนาด 6 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W


ซีพียู Core 2 Extreme (Dual-Core)
Core 2 Extreme (Conroe XE-65 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.93GHz ในรุ่น X6800 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 75 W


ซีพียู Core 2 Quad
Core 2 Quad (Kentsfield-65 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.66 GHz ในรุ่น Q6700 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 95 WCore 2 Quad (Yorkfield 4M-45 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.33 GHz ในรุ่น LGA775 ทำงานด้วย FSB 1033 MHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 95 WCore 2 Quad (Yorkfield 6 M-45 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.5 GHz ในรุ่น Q9400 ทำงานด้วย FSB 1033 MHz มี L2 Cache ขนาด 6 MB ค่า TDP สูงสุด 95 WCore 2 Quad (Yorkfield -45 nm ) มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ในรุ่น Q9650 ทำงานด้วย FSB 1033 MHz มี L2 Cache ขนาด 12 MB ค่า TDP สูงสุด 95 W


ซีพียู Core 2 Extreme (Quad-Core)
Core 2 Extreme (Conroe XE-65 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ในรุ่น QX6850 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 130 WCore 2 Extreme (Yorkfield XE-45 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.2 GHz ในรุ่น QX9775ทำงานด้วย FSB 1600MHz มี L2 Cache ขนาด 12 MB ค่า TDP สูงสุด 150 W


ซีพียู Core i7
เป็นซีพียูภายใต้แบรนด์ใหม่ในชื่อ Core i7 ที่ใช้รหัสการผลิตว่า Nehalem หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมแบบใหม่ด้วยโครงสร้างทั้งภายในและภายนอกที่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น การย้ายเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำ เป็นต้น

ซีพียู Core i7 Extreme
Core i7 Extreme (Bloomfield-45 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.2 GHz ในรุ่น LGA1366ทำงานด้วย FSB 800/1066/1333/1600MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 130 W


CPU AMD

ประวัติของ CPU AMD

เอเอ็มดี (Advanced Micro Devices) นับเป็นคู่แข่งสำคัญของอินเทล ซึ่งได้พัฒนาซีพียูรุ่นต่างๆ ของตนเองออกมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ยุค K5, K6 (K6-2/K6-III), K7 (Athlon/Duron/Athlon XP) เรื่อยมา ก่อนี่จะก้าวเข้าสู่ยุคของซีพียูในตระกูล K8 ที่ได้ปรับโครงสร้างภายในใหม่ โดยได้ย้ายเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำเข้ามาไว้ภายในตัวซีพียูเลย (Integrated Memory Controller) ซึ่งช่วยให้การติดต่อหรือรับส่งข้อมูลกันระหว่างซีพียูกับหน่วยความจำทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมๆ กับสนับสนุนการประมวลผลทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต ด้วยเทคโนโลยี AMD64 อย่าง Sempron, Athlon64 และ Athlon 64 FX รวมไปถึงซีพียูในกลุ่ม Dual & Multi-Core กลุ่มแรกอย่าง Athlon 64 X2 และ Athlon 64 FX ด้วย ก่อนจะข้ามมาสู่ยุค K10 ซึ่งเป็นซีพียูในกลุ่ม Dual & Multi-Core ขนานแท้ อย่าง Athlon X2, Phenom X3, Phenom X4 และ Phenom FX เป็นต้น

K5
หลังจากที่ทาง Intel นั้นได้เปลี่ยนรูปแบบของชื่อ มาใช้แบบที่ไม่เป็นตัวเลข ทาง AMD ก็เอาบ้างสิ โดยเจ้า K5 นี้ ทาง AMD ก็กะจะเอามาชนกันตรงๆ กับ Intel Pentium เลยทีเดียว ซึ่งจะใช้งานบน Socket 5 เหมือนๆ กับ Pentium ด้วย และเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสนในเรื่องรุ่นของความเร็ว ก็เลยมีการนำเอา PR-Rating มาใช้ในการเปรียบเทียบ ระดับความเร็ว เมื่อเทียบกับทาง Intel ซึ่งรุ่นนี้ก็มีตั้งแต่รุ่น 75 ถึง 166 MHz ใช้ความเร็วบัสของระบบที่ 50-66 MHz K5 นี้ ก็จะมีอยู่ด้วยกันถึง 4 Version ครับ แตกต่างกันไปนิดๆ หน่อย โดย Version แรกนั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.6 ไมครอน ก็คือ K5-75, 90,100 .. Version ที่ 2 นั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ได้แก่ K5-100... ส่วน Version ถัดมานั้นได้มีการปรับปรุง Core ใหม่อีกเล็กน้อย คือรุ่นK5-PR120 และ PR133 ส่วน Version สุดท้าย ก็คือ K5-PR166 ซึ่งใช้ตัวคูณที่แปลก แหวกแนวจากชาวบ้านเขา คือ คูณด้วย 1.75 ใช้งานบน FSB 66 MHz


K6
เป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของทาง AMD ซึ่งชิงเกิดก่อน Pentium II ของทาง Intel เพียงเดือนเดียว คือเริ่มวางจำหน่ายในเดือนเมษายน ปีค.ศ. 1997 ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน เริ่มต้นด้วยความเร็ว 166 MHz จนถึง 233 MHz ซึ่งรุ่นหลังนี้ ก็ได้ลดขนาดการผลิตเหลือเพียง 0.25 ไมครอนด้วย K6 นี้ ใช้โครงสร้างสถาปัตยกรรมของ Nx686 ของทาง NexGen ซึ่งทาง AMD ซื้อบริษัทนี้เข้าไว้ตั้งแต่ก่อนออก K5 เสียอีก มีขนาดของ Cache ระดับ 1 ที่มากกว่า Intel Pentium MMX เป็นเท่าตัว คือมีถึง 64K ( Instruction Cache 32K และ Data Cache อีก 32K ) นอกจากนี้ยังได้รวมเอาชุดคำสั่ง MMX ของทาง AMD เอง เข้าไว้ด้วย ส่วนสถาปัตยกรรมโครงสร้างภายในนั้น ก็จะเป็นในรูปแบบของ RISC CPU ( Reduced Instruction Set Computer ) ใช้งานบน Socket 7 .. นอกเหนือไปจากนั้น ก็มี CPU ในสายนี้ แต่เป็น CPU สำหรับ Mobile PC นั้นคือ K6 Model 7 ที่มีระดับความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้ FSB 66 MHz ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน


K6-2

เป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของทาง AMD ที่ปรับปรุงมาจาก K6 เดิม ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.25 ไมครอน มี Cache ระดับ 1 ที่ 64 K และใช้ Cache ระดับ 2 บน Main board ซึ่งก็จะมีตั้งแต่ขนาด 512 K เป็นต้นไป จนถึง 2 M ละครับ ... K6-2 นี้ มีชุดคำสั่ง MMX เช่นเดียวกับ Pentium MMX แต่ได้เพิ่มชุดคำสั่งพิเศษเข้าไปเพื่อช่วยในการประมวลผลด้าน Graphic 3 มิติ ที่เรียกว่า ชุดคำสั่ง 3DNow! มีความเร็วเริ่มต้นที่ 266 MHz ใช้ FSB 66 MHz ส่วนรุ่นความเร็วถัดมา 300 MHz นั้น จะใช้ FSB เป็น 100 MHz CPU K6-2 นี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 Version คือ Version แรก ที่ความเร็ว 266 (66x4), 300 (100x3), 333 (95x3.5), 350 (100x3.5) และ 366 (66x5.5) MHz ซึ่งเป็น Original Version เลย ส่วน Version ถัดมานั้น ทาง AMD ได้ทำการปรับปรุงสถาปัตยกรรมแกนหลักของ CPU ใหม่ โดยเฉพาะตรงส่วนของการจัดการกับ Cache เรียกว่า CXT Core ซึ่งก็ใช้ใน K6-2 รุ่นความเร็วตั้งแต่ 380 MHz เป็นต้นมา ... ปัจจุบันนี้ ในตลาดบ้านเรา ก็จะพบว่าเป็นรุ่น CXT Core ทั้งหมดแล้ว โดยรุ่นที่มีจำหน่าย ณ ปัจจุบัน คือรุ่นความเร็ว 500 และ 550 MHz


Athlon
ซีพียู ตระกูล Athlon XP รุ่น Athlon XP 2200+ ที่มีความเร็ว 1.8GHz นั้น จะถูกเปิดตัวในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ รุ่น 2200+ นี้ นับเป็นซีพียูรุ่นแรกของบริษัท AMD ที่ใช้เทคโนโลยี (แกนในซีพียูขนาดแค่) 0.13 micron ในการผลิต ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความเร็วรอบนาฬิกาได้แล้ว ยังช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อย่างมากด้วย ส่วนซีพียูรุ่นอื่น ที่น่าสนใจต่อเนื่องจากรุ่น 2200+ นั้น คือ รุ่น Barton จะมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Silicon on Insulator ซึ่งยิ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดไฟฟ้า และความเร็วรอบนาฬิกาสูงขึ้นไปอีก ทั้งนี้ คาดกันว่า ซีพียู Bartonจะออกวางแผงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ส่วนซีพียูรุ่นราคาประหยัด คือ Duron นั้น คาดว่าจะมีการเพิ่มความเร็วขึ้นไปอีก เป็น 1.4GHz ก่อนที่จะหยุดการผลิตในปลายปีนี้


Sempron
ซีพียูรุ่น Sempron ในตอนนี้ตลาดในบ้านเรา มีซีพียูรุ่นนี้ในรูปแบบ ซ็อกเก็ต A และ ซ็อกเก็ต754 ในรุ่น 3100+ แต่สำหรับปี 2005 ในช่วงไตรมาสแรกของปี AMD จะทำการเปิดตัว Sempron รุ่นที่เป็นซ็อกเก็ต754 ออกมาในไตรมาสเดียวถึง 4 รุ่นด้วยกันเริ่มตั้งแต่ Sempron 2600+, Sempron 2800+, Sempron 3000+ และ Sempron 3200+ ซีพียูทั้ง 4 รุ่นที่ถูกเปิดตัวออกมาในไตรมาสนี้ จะมีสองรุ่นที่จะจากเราไปก่อนนั่นคือ Sempron 2600+ ที่ถูกวางแผนหยุดสายการผลิตตั้งแต่ยังไม่ทันเปิดตัวไว้ในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2005 และ Sempron 2800+ ที่จะถูกหยุดสายการผลิตในปี 2006 ช่วงไตรมาสแรก ในช่วงไตรมาสแรกของปี2005 นี้ นอกจากจะมีซีพียู Sempron ซ็อกเก็ต754 เปิดตัวออกมาแล้ว ช่วงเวลาเดียวกันนี้ยังมี Sempron ที่จะเปิดตัวออกมาในรูปแบบซ็อกเก็ต939 อีกด้วย ในรุ่น Sempron 3000+ และ Sempron 3200+


Athlon 64
Athlon 64 EX AMD Athlon64 X2 Dual-Core 5000+ เป็นซีพียูตระกูล X2 Dual-Core ครับ จากเดิมในรุ่นที่เป็นซ็อกเก็ต 939 รุ่นสูงสุดของตระกูลนี้ได้แก่ AMD Athlon64 X2 Dual-Core 4800+ Athlon64 X2 ในตอนนี้ โดยในตระกูล AM2 ด้วยกัน มีความเร็วเป็นรองอยู่ก็แค่ FX-62 เท่านั้น X2 5000+ จะทำงานที่ความเร็ว 2.6GHz ร่วมกับแรม DDR2-743 ตรงจุดนี้ไม่ใช่ DDR2-800 นะครับ ซึ่งเดี๋ยวเราจะอธิบายอีกทีในภายหลัง ซีพียูตัวนี้จะมี L2 Cache เพียงแค่ 512kB เท่านั้น เล็กกว่า X2 4800+ ที่มีขนาด 1MB และจะมี L2 Cache เท่ากับซีพียูในรุ่น Athlon64 แต่ทว่าในรุ่นนั้นเป็นเพียง Single Core ... ด้วยประเด็นในเรื่องความเร็วและขนาดของ L2 Cache ทำให้ซีพียูตัวนี้มีระดับอยู่ระหว่าง FX-62 และ X2 4800+ สำหรับเจ้า X2 5000+ ตัวนี้ ถ้าจะหารุ่นที่เทียบเคียงกับมันในซ็อกเก็ต 939 ในรุ่น X2 ที่เท่าเทียบกันก็คงไม่มี เพราะซ็อกเก็ต 939 รุ่นสูงสุดคือ X2 4800+ จะมีสเปกเหมือนกับ X4800+ AM2 แทบทุกอย่างยกเว้น DDR2 แต่ถ้าไม่นับว่าเฉพาะ X2 ก็สามารถเทียบได้กับ FX-60 ที่เป็น 939 ครับ ถือว่าใกล้เคียงกันที่สุด แต่เจ้า 5000+ ก็ยังเป็นรองด้วย L2 Cache ที่เล็กกว่าครึ่งหนึ่ง ในขณะที่ความเร็วเท่ากัน


Phenom AMD
ได้ทำการเปิดตัวแนะนำชิพประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุดหนึ่งในตระกูล Phenom II หรือที่เรียกกันว่า Dragon โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าแข่งขันกับคู่แข่งอย่าง Intel ทั้งในเรื่องของประสิทธิภาพและเรื่องของราคา…AMD ได้ทำการเปิดตัวแนะนำชิพประมวลผลใหม่ตระกูล Phenom II หรือ Dragon สำหรับคอมพิวเตอร์พีซี โดยชิพประมวลผลตระกูล Dragon นี้ จะใช้เทคโนโลยี 45 นาโนเมตรในกระบวนการผลิต ซึ่งจะมีทั้งแบบ quad-core (X4) และ triple-core (X3) โดยชิพประมวลผล triple-core Phenom II X3 720 Black Edition นี้ ซึ่งชิพประมวลผลรุ่นนี้เมื่อเทียบประสิทธิภาพกับ Intel จะตรงกับในรุ่น Core 2 Duo (dual-core) E8400 ซึ่งจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าของ AMD quad-core X4 810 processor (2.6GHz) ซึ่งตรงกับสเปกรุ่น Core 2 Quad Q8200 (2.33GHz) ของ Intel

จำนวนผู้ชม Online

จำนวนผู้ชมออนไลน์ : Users Online

code

code title bar code บอกลา code mouse -cursor*