bandwidth

Bandwidth


bandwidth หมายถึง :
ในการสื่อสาร ความกว้างของช่วงคลื่น วัดจากช่วงของความถี่สูงที่สุดมาหาความถี่ต่ำที่สุดในช่วงความถี่ของคลื่นขนาดใดขนาดหนึ่ง เช่น ช่วงความกว้างของคลื่นของระบบโทรศัพท์ที่ความถี่ 3000 Hz จะอยู่ระหว่างความถี่ต่ำสุด 300 Hz กับความถี่สูงสุด 3300 Hz

แรม (RAM)


แรม (RAM) ซึ่งย่อมาจาก " Random Access Memory " หมายถึง หน่วยความจำความเร็วสูงซึ่งเป็นที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีหน่วยความจำความเร็วสูงนี้ โปรเซสเซอร์ก็จะทำงานไม่ได้เลย เนื่องจากความจำแรมเป็นเสมือนกระดาษทด ที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่โปรเซสเซอร์ใช้ในขณะกำลังทำงานอยู่ เพราะอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลอื่น เช่น ดิสก์ไดร์ฟ จะมีความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลช้ามาก ขณะที่ซีพียูทำงานจึงต้องทำงานกับหน่วยความจำแรมที่มีความเร็วสูงเสมอ
โดยปกติแล้ว ถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมาก ก็จะสามารถทำงานได้เร็วขึ้น เพราะมีเนื้อที่สำหรับเก็บคำสั่งของโปรแกรมต่าง ๆ ได้ทั้งหมด ไม่ต้องเรียกคำสั่งที่ใช้มาจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งจะทำให้การทำงานช้าลงอย่างมาก แผงวงจรหลัก (Main board) ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะถูกออกแบบมาให้สามารถเพิ่ม ชิปหน่วยความจำ (memory chip) ได้โดยง่าย เนื่องจากถ้าผู้ใช้ต้องทำงานกับโปรแกรมที่มีการคำนวณซับซ้อนหรือทำงานกับภาพกราฟิก ก็อาจจำเป็นต้องทำการเพิ่มหน่วยความจำให้มากขึ้น
คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากจำเป็นต้องมีหน่วยความจำจำนวนมาก เนื่องจากคอมพิวเตอร์นี้จะมีผู้ใช้หลายคนทำงานพร้อม ๆ กัน โดยใช้หลักการของ มัลติโปรเซสซิง (Multiprocessing) ทำให้ต้องมีการแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำ เพื่อเก็บโปรแกรมของผู้ใช้แต่ละคนสามารถประมวลผลไปในเวลาเดียวกันมากขึ้น
หน่วยความจำ RAM ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ



◆ DRAM ( Dynamic RAM) : เป็นหน่วยความจำที่มีการใช้งานกันมากที่สุดในปัจจุบัน จะมีวงจรคล้ายตัวเก็บประจุเพื่อจัดเก็บแต่ละบิตของข้อมูล ทำให้ต้องมีการย้ำสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปก่อนที่จะสูญหาย เรียกว่า การรีเฟรช (Refresh) หน่วยความจำ DRAM จะมีข้อดีที่ราคาต่ำ แต่ข้อเสียคือมีความเร็วในการเข้าถึง (Access time) ประมาณ 50 – 150 nanoseconds ซึ่งไม่สูงนักเนื่องจากต้องมีการรีเฟรชข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีการนำเทคนิค ต่าง ๆ มาช่วยลดเวลาในการเข้าถึงข้อมูล และเกิด DRAM ชนิดย่อย ๆ เช่น FPM (Fast Page Mode) RAM, EDO (Extended Data Output) RAM, SDRAM (Synchronous DRAM), DDR (Double Data Rate) SDRAM และ RDRAM (Rambus DRAM) เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมี DRAM แบบพิเศษซึ่งมีการปรับปรุงให้ทำงานเร็วขึ้นเพื่อใช้เป็นหน่วยความจำสำหรับระบบแสดงผลกราฟิก ซึ่งต้องการหน่วยความจำที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็วสูง เช่น VRAM(Video RAM), WRAM (Window RAM), SGRAM (Synchronous Graphics RAM) และ MDRAM (Multibank RAM) เป็นต้น






◆ SRAM (Staitc RAM)
: เป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงและใช้พลังงานน้อยมาก เนื่องจากข้อมูลที่เก็บอยู่ใน SRAM จะคงอยู่ได้ไม่ต้องทำการ refresh ข้อมูลอยู่ตลอดเวลาเหมือน DRAM ทำให้ SRAM สามารถใช้พลังงานจากถ่านนาฬิกาในการทำงานได้ถึงหนึ่งปี มีข้อเสียคือราคาสูง ทำให้นิยมใช้ SRAM เป็น หน่วยความจำแคช (Cache memory) เพื่อเสริมความเร็วให้กับหน่วยความจำ DRAM ในระบบคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เนื่องจากหน่วยความจำ SRAM มีความเร็วต่ำกว่า 10 nanosecond

CPU

ซีพียู (CPU)



ซีพียู (CPU : Central Processing Unit) หรือหน่วยประมวลผลกลางเป็นส่วนประกอบหลักซึ่งทำหน้าที่ คิดคำนวณ และประมวลผลข้อมูลต่างๆ ทั้งการคำนวณตัวเลขทางด้านคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operation) บวก ลบ คูณ หาร หรือการคำนวณเชิงเปรียบเทียบ ข้อมูลทางด้านตรรกศาสตร์ (Logical Operation) มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ เมื่อคอมพิวเตอร์มีการรับข้อมูลใดๆ เข้ามาจัดเก็บหรือพักไว้ในหน่วยความจำ แล้วก็จะถูกส่งต่อให้ซีพียูประมวลผลก่อนเสมอ นอกจากนั้นแล้วซีพียูยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของส่วนประกอบต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์อีกด้วย


ซีพียู Intel

ประวัติความเป็นมาของ CPU Intel

อินเทล (Inter Corporation) เป็นบริษัทผู้ผลิตซีพียูที่เก่าแก่และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ซีพียู 8086, 8088 และซีพียูในตระกูล 80x86 เรื่อยมา จนถึง Celeron Pentium II และ III ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยนั้น ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ยุค Celeron II ,Pentium 4 และ Pentium 4 Extreme Editionที่ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้อย่างกว้างขวางเรื่อยมา ซีพียูรุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของบริษัทอินเทล (Inter) มีดังนี้

ซีพียูรุ่นเก่า

ตระกูล 80x86 : เป็นซีพียูรุ่นแรก ซึ่งปัจจุบันไม่ใช้กันแล้ว
• Pentium : เป็นซีพียูที่เปลี่ยนไปใช้วิธีตั้งชื่อเรียกว่า Pentium แทนตัวเลขแบบเดิม

Pentium MMX : เป็นซีพียูที่ได้มีการนำเอาคำสั่ง MMX (Multimedia extension) มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางด้าน
มัลติมีเดีย
• Pentium Pro : เป็นซีพียูรุ่นแรกของตระกูล P6 ซีพียูรุ่นนี้ใช้กับชิปเซ็ตรุ่น 440 FX และได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็น
อย่างมากใสมัยนั้น
Pentium II : เป็นการนำซีพียู Pentium Pro มาปรับปรุงโดยเพิ่มชุดคำสั่ง MMX เข้าไป และเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์แบบตลับ
ซึ่งใช้เสียบลงใน Slot 1 โดยมร L2 Cache ขนาด 512 ME ที่มีความเร็วเพียงครึ่งเดียวของความเร็วซีพียู Celeron เป็นการนำเอา
Pentium II มาลดองค์ประกอบ โดยยุคแรกได้ตัด L2 Cache ออกมาเพื่อให้มีราคาถูกลง
Pentium III : เป็นซีพียูที่ใช้ชื่อรหัสว่า Katmai ซึ่งถูกเพิ่มเติมชุดคำสั่ง SSE เข้าไป
Celeron II รุ่นแรกเป็นการนำเอา Pentium III ( Coppermine และ Tualatin) มาลด L2 Cache ลงเหลือเพียง 12และ
256 KB ตามลำดับ

ซีพียู Celeron D และ Celeron Dual-Core Celeron
รุ่นล่าสุดใช้ชื่อว่า Celeron D ที่ยังคงเป็นซีพียูราคาประหยัดสำหรับผู้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ใหม่ราคาไม่แพง เพื่อนำไปใช้งานทั่วๆไปโดยรุ่นต่างๆที่ออกมาดังนี้ Celeron D (presscott-90 nm) มีความเร็วสูงสุดในปัจจุบันอยู่ที่ 3.33 GHz ในรุ่น 355 ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TOD สูงสุด 84 WCeleron D (Cedar Mill-65 nm) มีความเร็วสุงสุดปัจจุบันอยุ่ที่ 3.6GHz ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TOD สูงสุด 65 WCeleron D (Conroe-L/65 nm) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.2 GHz ในรุ่น 450 มี L2 Cache ขนาด 512 KB ทำงานด้วย FSB 800 MHz ค่า TDP สูงสุด 35 WCeleron Dual-Core (Allendale-65 nm ) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.0 GHz ในรุ่น E1400 มี L2 Cache ขนาด 512 KB ทำงานด้วย FSB 800 MHz ค่า TDP สูงสุด 65 WCeleron Dual-Core (Merom 2M-65 nm) สำหรับ Note book มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 1086GHz ในรุ่น T1500 มี L2 Cache ขนาด 512 KB ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TDP สูงสุด 35 W


ซีพียู Pentium 4

ซีพียูในตระกูล Pentium 4 ได้ถูกเพิ่มเติมเทคโนโลยี Hyper-Threading (HT) เข้าไปเพื่อช่วยให้สามารถประมวลผลเธรดหรือชุดคำสั่งย่อยต่างๆไปพร้อมๆกันได้เสมือนมีซีพียู 2 ตัวช่วยกันทำงาน ซึ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานหลายๆอย่างพร้อมกันได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้- Pentium 4 HT (Nothwood-130 nm )- Pentium 4 HT(Prescott-90 nm )- Pentium 4 HT (Cedar Mill-65 nm)

ซีพียู Pentium 4 Extreme Edition
Pentium 4 Extreme Edition (Gallatin-130 nm) มีความเร็ว 3.4 GHz มี L2 Cache ขนาด 512 KBค่า TDP สูงสุด 110 WPentium 4 Extreme Edition (Prescott 2 M-90 nm ) มีความเร็ว 3.73 GHz ทำงานด้วย FSB 1066 MHz ค่า TDP สูงสุด 115W

ซีพียู Pentium D
นับเป็นก้าวแรกสู่ยุค Dual& Muti-Core ของ Intel โดย Pentium D ถูกออกมา เพื่อการทำงานที่ต้องการ Multitasking สูงๆ หรือสามารถทำงานกับแอพพลิเคชั่นได้หลายตัวพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่- Pentium D ( Smithfield-90nm)- Pentium D (Presler-65 nm)


ซีพียู Pentium Dual-Core
Pentium Dual-Core (Allendale-65 nm) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.4 GHz ในรุ่น E2220 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 65 WPentium Dual-Core (Wolfdale 2M-45 nm) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.5 GHz ในรุ่น E2220 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 2 MB ค่า TDP สูงสุด 65 WPentium Dual-Core (Yonah-65 nm) สำหรับ Note book มีความเร็วสูงสุด 1.86 GHz ในรุ่น T2130 ทำงานด้วย FSB 533 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 31 WPentium Dual-Core (Morom 2M-65 nm) สำหรับ Note book มีความเร็วสูงสุด 2.0 GHz ในรุ่น T24100 ทำงานด้วย FSB 533 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 35 W


ซีพียู Pentium Extreme Edition
Pentium Extreme Edition เป็น Dual-Core ภายใต้แบรนด์ Pentium ในตระกูล Extreme Edition ที่ถูกออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับ Hi- End สมรรถนะสูง เหมาะกับการสร้างสรรค์สื่อบันเทิงต่างๆอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการประมวลผลภาพวิดีโอ และระบบเสียงแบบ High Definition ทั้งงานด้านการออกแบบและเกมส์ต่าง ๆ ได้แก่- Pentium Extreme Edition (Smithfield-90 nm )- Pentium Extreme Edition (Presler-65 nm )


ซีพียู Core 2 Duo
Core 2 Duo (Allendale-65 nm) มีความเร็วสูงสุด 2.6 GHz ในรุ่น E4700 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 2 MB ค่า TDP สูงสุด 65 WCore 2 Duo (Conroe-65 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ในรุ่น E6850 ทำงานด้วย FSB 1066 และ 1333 MHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 65 WCore 2 Duo (Wolfdale 3M-45 nm) มีความเร็วสูงสุด 2.8 GHz ในรุ่น E7400 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 3 MB ค่า TDP สูงสุด 65 WCore 2 Duo (Wolfdale -45 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.3 GHz ในรุ่น E8600 ทำงานด้วย FSB 1333 MHz มี L2 Cache ขนาด 6 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W


ซีพียู Core 2 Extreme (Dual-Core)
Core 2 Extreme (Conroe XE-65 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.93GHz ในรุ่น X6800 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 75 W


ซีพียู Core 2 Quad
Core 2 Quad (Kentsfield-65 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.66 GHz ในรุ่น Q6700 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 95 WCore 2 Quad (Yorkfield 4M-45 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.33 GHz ในรุ่น LGA775 ทำงานด้วย FSB 1033 MHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 95 WCore 2 Quad (Yorkfield 6 M-45 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.5 GHz ในรุ่น Q9400 ทำงานด้วย FSB 1033 MHz มี L2 Cache ขนาด 6 MB ค่า TDP สูงสุด 95 WCore 2 Quad (Yorkfield -45 nm ) มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ในรุ่น Q9650 ทำงานด้วย FSB 1033 MHz มี L2 Cache ขนาด 12 MB ค่า TDP สูงสุด 95 W


ซีพียู Core 2 Extreme (Quad-Core)
Core 2 Extreme (Conroe XE-65 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ในรุ่น QX6850 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 130 WCore 2 Extreme (Yorkfield XE-45 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.2 GHz ในรุ่น QX9775ทำงานด้วย FSB 1600MHz มี L2 Cache ขนาด 12 MB ค่า TDP สูงสุด 150 W


ซีพียู Core i7
เป็นซีพียูภายใต้แบรนด์ใหม่ในชื่อ Core i7 ที่ใช้รหัสการผลิตว่า Nehalem หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมแบบใหม่ด้วยโครงสร้างทั้งภายในและภายนอกที่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น การย้ายเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำ เป็นต้น

ซีพียู Core i7 Extreme
Core i7 Extreme (Bloomfield-45 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.2 GHz ในรุ่น LGA1366ทำงานด้วย FSB 800/1066/1333/1600MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 130 W


CPU AMD

ประวัติของ CPU AMD

เอเอ็มดี (Advanced Micro Devices) นับเป็นคู่แข่งสำคัญของอินเทล ซึ่งได้พัฒนาซีพียูรุ่นต่างๆ ของตนเองออกมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ยุค K5, K6 (K6-2/K6-III), K7 (Athlon/Duron/Athlon XP) เรื่อยมา ก่อนี่จะก้าวเข้าสู่ยุคของซีพียูในตระกูล K8 ที่ได้ปรับโครงสร้างภายในใหม่ โดยได้ย้ายเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำเข้ามาไว้ภายในตัวซีพียูเลย (Integrated Memory Controller) ซึ่งช่วยให้การติดต่อหรือรับส่งข้อมูลกันระหว่างซีพียูกับหน่วยความจำทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมๆ กับสนับสนุนการประมวลผลทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต ด้วยเทคโนโลยี AMD64 อย่าง Sempron, Athlon64 และ Athlon 64 FX รวมไปถึงซีพียูในกลุ่ม Dual & Multi-Core กลุ่มแรกอย่าง Athlon 64 X2 และ Athlon 64 FX ด้วย ก่อนจะข้ามมาสู่ยุค K10 ซึ่งเป็นซีพียูในกลุ่ม Dual & Multi-Core ขนานแท้ อย่าง Athlon X2, Phenom X3, Phenom X4 และ Phenom FX เป็นต้น

K5
หลังจากที่ทาง Intel นั้นได้เปลี่ยนรูปแบบของชื่อ มาใช้แบบที่ไม่เป็นตัวเลข ทาง AMD ก็เอาบ้างสิ โดยเจ้า K5 นี้ ทาง AMD ก็กะจะเอามาชนกันตรงๆ กับ Intel Pentium เลยทีเดียว ซึ่งจะใช้งานบน Socket 5 เหมือนๆ กับ Pentium ด้วย และเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสนในเรื่องรุ่นของความเร็ว ก็เลยมีการนำเอา PR-Rating มาใช้ในการเปรียบเทียบ ระดับความเร็ว เมื่อเทียบกับทาง Intel ซึ่งรุ่นนี้ก็มีตั้งแต่รุ่น 75 ถึง 166 MHz ใช้ความเร็วบัสของระบบที่ 50-66 MHz K5 นี้ ก็จะมีอยู่ด้วยกันถึง 4 Version ครับ แตกต่างกันไปนิดๆ หน่อย โดย Version แรกนั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.6 ไมครอน ก็คือ K5-75, 90,100 .. Version ที่ 2 นั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ได้แก่ K5-100... ส่วน Version ถัดมานั้นได้มีการปรับปรุง Core ใหม่อีกเล็กน้อย คือรุ่นK5-PR120 และ PR133 ส่วน Version สุดท้าย ก็คือ K5-PR166 ซึ่งใช้ตัวคูณที่แปลก แหวกแนวจากชาวบ้านเขา คือ คูณด้วย 1.75 ใช้งานบน FSB 66 MHz


K6
เป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของทาง AMD ซึ่งชิงเกิดก่อน Pentium II ของทาง Intel เพียงเดือนเดียว คือเริ่มวางจำหน่ายในเดือนเมษายน ปีค.ศ. 1997 ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน เริ่มต้นด้วยความเร็ว 166 MHz จนถึง 233 MHz ซึ่งรุ่นหลังนี้ ก็ได้ลดขนาดการผลิตเหลือเพียง 0.25 ไมครอนด้วย K6 นี้ ใช้โครงสร้างสถาปัตยกรรมของ Nx686 ของทาง NexGen ซึ่งทาง AMD ซื้อบริษัทนี้เข้าไว้ตั้งแต่ก่อนออก K5 เสียอีก มีขนาดของ Cache ระดับ 1 ที่มากกว่า Intel Pentium MMX เป็นเท่าตัว คือมีถึง 64K ( Instruction Cache 32K และ Data Cache อีก 32K ) นอกจากนี้ยังได้รวมเอาชุดคำสั่ง MMX ของทาง AMD เอง เข้าไว้ด้วย ส่วนสถาปัตยกรรมโครงสร้างภายในนั้น ก็จะเป็นในรูปแบบของ RISC CPU ( Reduced Instruction Set Computer ) ใช้งานบน Socket 7 .. นอกเหนือไปจากนั้น ก็มี CPU ในสายนี้ แต่เป็น CPU สำหรับ Mobile PC นั้นคือ K6 Model 7 ที่มีระดับความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้ FSB 66 MHz ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน


K6-2

เป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของทาง AMD ที่ปรับปรุงมาจาก K6 เดิม ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.25 ไมครอน มี Cache ระดับ 1 ที่ 64 K และใช้ Cache ระดับ 2 บน Main board ซึ่งก็จะมีตั้งแต่ขนาด 512 K เป็นต้นไป จนถึง 2 M ละครับ ... K6-2 นี้ มีชุดคำสั่ง MMX เช่นเดียวกับ Pentium MMX แต่ได้เพิ่มชุดคำสั่งพิเศษเข้าไปเพื่อช่วยในการประมวลผลด้าน Graphic 3 มิติ ที่เรียกว่า ชุดคำสั่ง 3DNow! มีความเร็วเริ่มต้นที่ 266 MHz ใช้ FSB 66 MHz ส่วนรุ่นความเร็วถัดมา 300 MHz นั้น จะใช้ FSB เป็น 100 MHz CPU K6-2 นี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 Version คือ Version แรก ที่ความเร็ว 266 (66x4), 300 (100x3), 333 (95x3.5), 350 (100x3.5) และ 366 (66x5.5) MHz ซึ่งเป็น Original Version เลย ส่วน Version ถัดมานั้น ทาง AMD ได้ทำการปรับปรุงสถาปัตยกรรมแกนหลักของ CPU ใหม่ โดยเฉพาะตรงส่วนของการจัดการกับ Cache เรียกว่า CXT Core ซึ่งก็ใช้ใน K6-2 รุ่นความเร็วตั้งแต่ 380 MHz เป็นต้นมา ... ปัจจุบันนี้ ในตลาดบ้านเรา ก็จะพบว่าเป็นรุ่น CXT Core ทั้งหมดแล้ว โดยรุ่นที่มีจำหน่าย ณ ปัจจุบัน คือรุ่นความเร็ว 500 และ 550 MHz


Athlon
ซีพียู ตระกูล Athlon XP รุ่น Athlon XP 2200+ ที่มีความเร็ว 1.8GHz นั้น จะถูกเปิดตัวในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ รุ่น 2200+ นี้ นับเป็นซีพียูรุ่นแรกของบริษัท AMD ที่ใช้เทคโนโลยี (แกนในซีพียูขนาดแค่) 0.13 micron ในการผลิต ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความเร็วรอบนาฬิกาได้แล้ว ยังช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อย่างมากด้วย ส่วนซีพียูรุ่นอื่น ที่น่าสนใจต่อเนื่องจากรุ่น 2200+ นั้น คือ รุ่น Barton จะมีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Silicon on Insulator ซึ่งยิ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดไฟฟ้า และความเร็วรอบนาฬิกาสูงขึ้นไปอีก ทั้งนี้ คาดกันว่า ซีพียู Bartonจะออกวางแผงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ส่วนซีพียูรุ่นราคาประหยัด คือ Duron นั้น คาดว่าจะมีการเพิ่มความเร็วขึ้นไปอีก เป็น 1.4GHz ก่อนที่จะหยุดการผลิตในปลายปีนี้


Sempron
ซีพียูรุ่น Sempron ในตอนนี้ตลาดในบ้านเรา มีซีพียูรุ่นนี้ในรูปแบบ ซ็อกเก็ต A และ ซ็อกเก็ต754 ในรุ่น 3100+ แต่สำหรับปี 2005 ในช่วงไตรมาสแรกของปี AMD จะทำการเปิดตัว Sempron รุ่นที่เป็นซ็อกเก็ต754 ออกมาในไตรมาสเดียวถึง 4 รุ่นด้วยกันเริ่มตั้งแต่ Sempron 2600+, Sempron 2800+, Sempron 3000+ และ Sempron 3200+ ซีพียูทั้ง 4 รุ่นที่ถูกเปิดตัวออกมาในไตรมาสนี้ จะมีสองรุ่นที่จะจากเราไปก่อนนั่นคือ Sempron 2600+ ที่ถูกวางแผนหยุดสายการผลิตตั้งแต่ยังไม่ทันเปิดตัวไว้ในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2005 และ Sempron 2800+ ที่จะถูกหยุดสายการผลิตในปี 2006 ช่วงไตรมาสแรก ในช่วงไตรมาสแรกของปี2005 นี้ นอกจากจะมีซีพียู Sempron ซ็อกเก็ต754 เปิดตัวออกมาแล้ว ช่วงเวลาเดียวกันนี้ยังมี Sempron ที่จะเปิดตัวออกมาในรูปแบบซ็อกเก็ต939 อีกด้วย ในรุ่น Sempron 3000+ และ Sempron 3200+


Athlon 64
Athlon 64 EX AMD Athlon64 X2 Dual-Core 5000+ เป็นซีพียูตระกูล X2 Dual-Core ครับ จากเดิมในรุ่นที่เป็นซ็อกเก็ต 939 รุ่นสูงสุดของตระกูลนี้ได้แก่ AMD Athlon64 X2 Dual-Core 4800+ Athlon64 X2 ในตอนนี้ โดยในตระกูล AM2 ด้วยกัน มีความเร็วเป็นรองอยู่ก็แค่ FX-62 เท่านั้น X2 5000+ จะทำงานที่ความเร็ว 2.6GHz ร่วมกับแรม DDR2-743 ตรงจุดนี้ไม่ใช่ DDR2-800 นะครับ ซึ่งเดี๋ยวเราจะอธิบายอีกทีในภายหลัง ซีพียูตัวนี้จะมี L2 Cache เพียงแค่ 512kB เท่านั้น เล็กกว่า X2 4800+ ที่มีขนาด 1MB และจะมี L2 Cache เท่ากับซีพียูในรุ่น Athlon64 แต่ทว่าในรุ่นนั้นเป็นเพียง Single Core ... ด้วยประเด็นในเรื่องความเร็วและขนาดของ L2 Cache ทำให้ซีพียูตัวนี้มีระดับอยู่ระหว่าง FX-62 และ X2 4800+ สำหรับเจ้า X2 5000+ ตัวนี้ ถ้าจะหารุ่นที่เทียบเคียงกับมันในซ็อกเก็ต 939 ในรุ่น X2 ที่เท่าเทียบกันก็คงไม่มี เพราะซ็อกเก็ต 939 รุ่นสูงสุดคือ X2 4800+ จะมีสเปกเหมือนกับ X4800+ AM2 แทบทุกอย่างยกเว้น DDR2 แต่ถ้าไม่นับว่าเฉพาะ X2 ก็สามารถเทียบได้กับ FX-60 ที่เป็น 939 ครับ ถือว่าใกล้เคียงกันที่สุด แต่เจ้า 5000+ ก็ยังเป็นรองด้วย L2 Cache ที่เล็กกว่าครึ่งหนึ่ง ในขณะที่ความเร็วเท่ากัน


Phenom AMD
ได้ทำการเปิดตัวแนะนำชิพประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุดหนึ่งในตระกูล Phenom II หรือที่เรียกกันว่า Dragon โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าแข่งขันกับคู่แข่งอย่าง Intel ทั้งในเรื่องของประสิทธิภาพและเรื่องของราคา…AMD ได้ทำการเปิดตัวแนะนำชิพประมวลผลใหม่ตระกูล Phenom II หรือ Dragon สำหรับคอมพิวเตอร์พีซี โดยชิพประมวลผลตระกูล Dragon นี้ จะใช้เทคโนโลยี 45 นาโนเมตรในกระบวนการผลิต ซึ่งจะมีทั้งแบบ quad-core (X4) และ triple-core (X3) โดยชิพประมวลผล triple-core Phenom II X3 720 Black Edition นี้ ซึ่งชิพประมวลผลรุ่นนี้เมื่อเทียบประสิทธิภาพกับ Intel จะตรงกับในรุ่น Core 2 Duo (dual-core) E8400 ซึ่งจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าของ AMD quad-core X4 810 processor (2.6GHz) ซึ่งตรงกับสเปกรุ่น Core 2 Quad Q8200 (2.33GHz) ของ Intel

About this blog


จำนวนผู้ชม Online

จำนวนผู้ชมออนไลน์ : Users Online

code

code title bar code บอกลา code mouse -cursor*